รูปแบบในการเรียนของคนเรา ที่แบ่งเป็นขั้นตอน 3 ขั้น คือ
Input -> Intake -> Output
แล้วในขั้นตอนintake เนี่ยยังแบ่งออกเป็นย่อยๆได้อีก
คือ
1.เมื่อคนเราได้ฟังแล้ว ก็ต้องเกิดการ สังเกต
2.พอสังเกตแล้วก็จะนำมาเปรียบเทียบ (แล้วจะกลายเป็นความทรงจำระยะสั้น)
3.แล้วจึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์ (จะกลายเป็นความทรงจำระยะยาว)
เมื่อผ่านสามขั้นตอน แล้วจึงจะออกมาเป็นOutput
จากที่เขียนไปนั้น จะเห็น ความทรงจำระยะสั้น และ ความทรงจำระยะยาวอยู่ สองอย่างนี้เนี่ย
จากที่ได้เรียนในคาบและดูคลิปแล้ว
ทำให้สามารถสรุปได้ ว่า
ความทรงจำระยะสั้น = เป็นความทรงจำที่เก็บบันทึกได้ในขณะที่ได้ทำกริยานั้นๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ก็จะหายไปเหมือนกระดานดำ
ความทรงจำระยะยาว = เป็นความทรงจำที่อยู่ได้นาน พัฒนามาจากความทรงจำระยะสั้น มักเกิดได้จากการทบทวน และ ฝึกฝนซ้ำๆ อย่างสม่ำเสมอ เปรียบเสมือนโกดังเก็บของ ไม่หายไปง่ายๆ
และวิธีที่ทำให้ความทรงจำระยะสั้นกลายเป็นระยะยาวที่ดีที่สุดคือการฝึกซ้ำๆอย่างเว้นช่วง
กล่าวคือ ถ้าตั้งใจว่าจะท่องศัพท์ในวันจันทร์ ก็ไม่ควรท่องวันจันทร์วันเดียว3รอบ แต่ควรแบ่งออกเป็นวันจันทร์1รอบ วันอังคารอีก1รอบและวันพุธอีก1รอบ จะทำให้สามารถจำได้ยาวนานมากขึ้น
![]() |
ครุ่นคิส (ภาษาวิบัติ |
ต่อมา
เป็นการเรียนเกี่ยวกับบทบรรยายและบทพรรณนา การบรรยาย2รูปแบบนี้ ก็มีจุดที่แตกต่างกัน คือ
การเขียนบรรยาย(説明文)ต้องเน้นการเขียนให้กระชับ เข้าใจง่าย ไม่เวิ่นเว้อ
แต่ในทางกลับกัน
การพรรณนา(描写文) ต้องใช้ภาษาที่ทำให้ผู้อ่านสามารถจินตนาการถึงภาพที่ผู้พูดต้องการจะสื่อได้
ซึ่งในคาบก็ได้ลองแต่งเรื่องโดยใช้การพรรณนา เพื่อพูดอธิบายการ์ตูน4ช่อง ให้เพื่อนฟัง
ในตอนแรก อาจารย์จะเปิดรูปให้คนที่ต้องอธิบายดูก่อน แล้วให้เวลาทำความเข้าใจ
ต่อมาจึงให้เริ่มเล่าสิ่งที่ตนเห็นให้เพื่อนอีกคนที่ไม่เห็นภาพฟัง
เมื่อเล่าเสร็จก็มาดูว่า เพื่อนที่ฟังไป เข้าใจไหม ถ้าเข้าใจแสดงว่าสามารถทำได้ดีแล้ว แต่ถ้าไม่เข้าใจก็ต้องกลับมาหวนคิดดูว่า ตอนธิบายมีปัญหาอย่างไร ตรงจุดไหน
อาจารย์สองเรื่อง คือเรื่องหลบชาวต่างชาติที่จะเข้ามาถามทาง กับเรื่องเด็กทารก
เราก็ได้พูดเรื่องเด็กทารกก่อน
และพูดอธิบายไป
แบบนี้
まずは一人の赤ちゃんがいて、そして、寝ている犬がいました。その赤ちゃんは犬に乗りたいと思ったから、その犬に近づいて行きました。でも、犬の前に着くと、犬が起きました。赤ちゃんはびっくりしました。それで、赤ちゃんは「じゃ、犬の尻尾から乗ろうと思って、それで、後ろに向いて、もう一つの方向に向かって、4足で歩きました。そして、その犬に着いたら、犬の顔に会いました。それで、赤ちゃんは「え!どうして」みたいに思いました。
หลังจากพูดเสร็จแล้วก็ถามผู้ฟังว่าเข้าใจหรือไม่
เขาก็บอกว่าพอเข้าใจอยู่
แต่ตามความคิดของเราแล้วรู้สึกว่ายังมีจุดที่ต้องปรับปรุงอีกมากมาย คือ
1.ศัพท์ : การเลือกใช้คำ ไม่รู้คำศัพท์ อย่างในเรื่อง เราไม่รู้คำศัพท์ คำว่าคลาน แต่เมื่อใช้อวัจนภาษาช่วยก็เลยสามารถสื่อสารได้ในระดับหนึ่ง และใช้คำเลียนเสียงต่างๆเพื่อแสดงภาพให้ชัดเจนขึ้น อย่างในเรื่อง ก็ไม่รู้ว่าคลาน(はいはい)คือคำว่าอะไร จึงใช้ท่าทางสื่อแทน
2.มุมมอง : จากการที่เราเลือกใช้มุมมองเดียว ทำให้ไม่สามารถอธิบายสภาพของสิ่งที่ตัวละครไม่รู้ได้ อย่างในเรื่องคือ หมานั้นหันหลังมา
3.การใช้ไวยากรณ์ท้ายประโยค : เช่น てしまう、ているที่มีความหมายแฝงถึงสภาพการกระทำและอารมณ์ความรู้สึกของผู้พูดอยู่ ในเรื่องแทบไม่มีพวกแทรกความรู้สึกเลย
หลังจากที่ได้อ่านบทบรรยายของคนญี่ปุ่นเรื่องเดียวกับที่เราพูดแล้ว ก็ทำให้รู้สึกว่าอารมณ์ที่ได้มันต่างกันจริงๆ
ทั้งคำที่ไม่ได้ยากแต่กลับสามารถทำให้รู้สึกเห็นภาพได้ มีการอธิบายมุมมองบ้าง ใช้ไวยากรณ์ที่สื่อถึงอารมณ์ให้เห็นได้ง่าย
พออ่านแล้วก็นำมาเก็บไว้ก่อน โอกาสหน้าต้องลองแก้ตัวดูอีกที เย่
แต่รู้สึกยังงงๆเกี่ยวกับความแตกต่างของการพรรณนากับการบรรยายอยู่ ความจริงคือแค่ภาษาไทยยังงงอยู่เลย พอมาเป็นภาษาญี่ปุ่นยิ่งยากขึ้นไปอีก55555 #ในเลข5มีน้ำตาซ่อนอยู่
พรรณนากับบรรยาย เออ ต่างกันยังไงหนอ....
ตอบลบだいぶ前のタスクですが・・・
ตอบลบ3コマ目と4コマ目の赤ちゃんの動きを1-2コマ目のように丁寧に、伝えられたら、もっとわかりやすくなると思いました。赤ちゃんの気持ちをストーリーの中に入れられたのは話が生き生きとしていいですね。
coin casino - Casinoworld
ตอบลบThe coin casino is an online gambling platform. 메리트 카지노 주소 It offers 인카지노 a variety of games such as slots, live casino and choegocasino bingo. It is one of the best casinos