วันจันทร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560

相槌が上手く打てますように!

  บล็อกนี้เกี่ยวกับการ相槌อีกครั้งหลังจากที่พูดไปแล้วในบล็อกいい聞き相手とは?:相槌(TBSラジオCloud) ครั้งนี้้จะเป็นการเปรียบเทียบการใช้相槌ของเรา ในครั้งแรกที่ฟังเพื่อนเล่าเรื่องที่ชื่อว่า外国人กับตอนฟังเรื่อง秘密ในคาบที่ผ่านมา 


ครั้งแรก
เรื่อง 外国人
  เป็นเรื่องที่มีเด็กหนุ่มคนหนึ่งนั่งอยู่ข้างู้ชายอีกคนที่อ่านหนังสือพิมพ์อยู่ในล็อบบี้โรงแรม แล้วก็ได้ไปสบตากับชายสูงวัยท่านหนึ่งที่กำลังถือแผนที่ท่าทางเหมือนนักท่องเที่ยว ชายสูงวัยเขาเลยทำท่าเดินไปหาเด็กหนุ่ม เด็กหนุ่มรู้สึกลำบากใจที่ต้องคุยกับชายสูงวัยคนนั้น ก็เลย เอาตัวไปซ่อนใต้หนังสือพิมพ์ของชายที่นั่งข้างๆกันค่ะ จบ/แอบสงสารนักท่องเที่ยวชายสูงวัยคนนั้นเเหมือนกันนะคะ 555

พูดตอบรับคำ แสดงให้รู้ว่าฟังอยู่
พูดอืมเยอะมากกกกกกกกกก
うんสิริรวม 11 ครั้ง!!
ส่วนมากก็จะพูดตอนที่เพื่อนเว้นวรรค หลังคำเชื่อม てต่างๆ แทบจะทุกประโยค
และああและへーอีกนิดหนึ่ง

นอกจากข้างบนแล้วก็มีการพูดทวนที่เพื่อนพูดอีกเล็กน้อย
คือたぶん?
ロビーで?
おじいさん?

แต่ไม่มีการพูดแสดงความรู้สึกตัวเองไปด้วยเลย


ครั้งที่สอง
เรื่อง秘密
  เป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้หญิงคนหนึ่งที่เพื่อนบอกว่าเป็นเพื่อนของเพื่อนอีกที แล้วเขาไปศัลยกรรมมากลายเป็นสาวสวย หลังจากนั้นเขาก็มีแฟนเป็นหนุ่มหล่อ แต่วันหนึ่งแฟนหนุ่มของเพื่อนคนนั้นก็ได้เห็นรูปตอนก่อนไปศัลยกรรมเข้าให้ แต่แฟนหนุ่มกลับบอกว่าไม่เป็นไร เพราะว่าตัวเขาเองยังใส่วิกเลย! จบ

เรื่องมีหักมุมค่ะ5555
http://i1.wp.com/keyakizaka46ch.jp/wp-content/uploads/2016/01/wpid-1QaiIm73Yt0.gif


  หลังจากผ่านการทำบล็อกและเรียนมาหลายคาบก็รู้สึกว่าต้องあいづちนะ เลยอาจจะรู้สึกเกร็งๆในการใช้ แต่ก็พยายามที่จะใช้ให้หลากหลายมากขึ้น พยายามใช้แบบที่ทวนสิ่งที่ผู้เล่าพูดมากับแสดงความรู้สึกของตัวเองออกไปมากขึ้น เพราะรู้สึกว่าあいづちแบบนี้ดู ให้ความสนใจมากกว่า
โดยที่相槌ที่ใช้ก็มี

พูดก่อนที่เพื่อนจะพูดออกมาจบประโยค หรือพูดทวนสิ่งที่เพื่อนเล่า
したの?
でも?
 ショックだよね。

เวลาที่เพื่อนพูดจบประโยคหรือหลังคำเชื่อม
うん 3ครั้ง

พูดแสดงความรู้สึกต่อเรื่องที่เพื่อนเล่า
えーやばいじゃん
あっ!じゃ良いじゃん
あーじゃいいじゃん
えええーウィッグなの?
えっ!
あーなるほど
 へー

  เมื่อเปรียบเทียบระหว่างสองครั้งแล้ว ที่เห็นได้ชัดเลยคือ ครั้งที่สองมีการเปลี่ยนรูปแบบการใช้あいづちหลากหลายกว่า และไม่ใช้うんเกลื่อนเหมือนคราวที่แล้ว

  จังหวะการใช้ค่อนข้างเหมือนเดิม คือหลังเพื่อนจบประโยคและพวกคำเชื่อม แต่ครั้งที่สองไม่ได้あいづちทุกครั้งที่เพื่อนหยุดเหมือนครั้งแรก


  
  แต่ทั้งสองครั้ง ไม่มีการเปลี่ยนระดับภาษาค่ะ ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าทำไม แต่เพราะคุยกับเพื่อนด้วยก็เลยใช้ภาษาตามสบาย ไม่อยากใช้คำสุภาพ

  ความจริงแล้ว รู้สึกว่าเสียง相槌ของครั้งที่สองจะดูเกร็งๆและไม่เป็นธรรมชาติมากกว่าครั้งแรก เป็นเพราะรู้ตัวว่าต้องใส่あいづちนะ ต้องลองเปลี่ยนรูปแบบนะ ไม่เหมือนอันแรกที่ไม่ได้ใส่ใจเรื่องนี้มากนักเลยปล่อยตัวไปตามสบาย แต่ก็จะเห็นว่าไม่ค่อยมี相槌แบบแสดงความรู้สึกร่วมหรือพวกいいじゃん ショックだよねอะไรอย่างนี้ค่ะ รู้สึกเหมือนจะพัฒนา แต่ก็ไม่พัฒนา555 orz


https://www.youtube.com/watch?v=eMB6YHZe0n8


ดังนั้น สิ่งที่ควรฝึกต่อจากนี้คือการใช้あいづちให้หลากหลายและดูเป็นธรรมชาติมากกว่านี้ค่ะ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น